Friday 3 December 2010

เช็กความถูกต้องกันสักนิดก็ดีนะคะคุณ

เหตุเกิดจากการงานประจำวันนี้เกี่ยวข้องกับ 'กล้วยหอม' และ 'โมสาร์ต'
เลยทำให้ไปเจอกับข่าวนี้
 
*************************************

เหลือเชื่อ มนต์แห่งดนตรี"โมสาร์ท"ขับกล่อมกล้วยหอมให้สุกงาม เพิ่มยอดขายได้

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 27 พ.ย.บริษัท"อิสามุ โอกูดะ"ผู้ผลิตกล้วยหอมของญี่ปุ่น ได้ใช้ดนตรีโมสาร์ท จากวงออสเตรตร้า บรรเลงเพลงขับกล่อมให้แก่บรรดาต้นกล้วยไม้ของบริษัท เป็นเวลาต่อเนื่องนับสัปดาห์ ส่งผลให้กล้วยหอมออกมาสุกงาม และสามารถเพิ่มยอดขายได้มากกว่าเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งไม่มีการใช้เทคนิคดนตรีเช่นนี้

 

รายงานระบุว่า กล้วยหอมไม่ใช่สินค้าประเภทเดียวที่ญี่ปุ่นใช้ดนตรีโมสาร์ทขับกล่อมเพื่อให้ คุณภาพออกมาดี โดยก่อนหน้านี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ได้รับการใช้มนต์ดนตรีเช่นนี้เช่น บะหมี่"อูด้ง" ซ๊อสถั่วเหลือง ด้านผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การใช้ดนตรีโมสาร์ทกระตุ้นการเจริญเติบโตของผลไม้ ได้เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีกว่าปีที่แล้ว ภายหลังประธานของบริษัทอิสาบุ ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับปรากฎการณ์ดังกล่าว



*ข้อความและภาพแค็ปหน้าจอจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1290838618&grpid=03&catid=06

*****************************************

รู้สึกตงิดตั้งแต่ชื่อบริษัท 'บริษัท"อิสามุ โอกูดะ' เพราะให้ความรู้สึกว่ามันน่าจะเป็นชื่อคน มากกว่าชื่อบริษัท
ก็เลยลองสอบถามอากู๋ (เกิ้ล) ดู
เลยไปพบความจริงเข้าที่เว็บนี้
http://search.japantimes.co.jp/cgi-bin/fs20101125a3.html

ซึ่งขอแยกออกมาเป็นข้อๆ ดังนี้

1. ชื่อบริษัทที่ใช้วิธีเปิดเพลงโมสาร์ต คือ Toyoka Chuo Seika ไม่ใช่  'บริษัท อิสามุ โอกูดะ' และ อิสามุ โอกูดะ ที่กล่าวถึง เป็นคนในบริษัท Toyoka Chuo Seika ที่ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ Mozart Banana

(...the Hyogo Prefecture-based fruit company Toyoka Chuo Seika shipped out its first batch of "Mozart Bananas" to supermarkets in the area.)

2. บริษัท Toyoka Chuo Seikaไม่ใช่  'ผู้ผลิตกล้วยหอม' แต่เป็นบริษัทจัดจำหน่าย หรือประมาณว่านำเข้ากล้วยมาจากฟิลิปปินส์

(Arriving as ordinary unripe bananas from the Philippines...)

3. บรรเลงเพลงขับกล่อมให้แก่บรรดาต้นกล้วยไม้ของบริษัท เป็นเวลาต่อเนื่องนับสัปดาห์ ส่งผลให้กล้วยหอมออกมาสุกงาม ซึ่งจากข้อสองที่บอกไป Toyoka Chuo Seika นำ เข้ากล้วยจากฟิลิปปินส์ ไม่ได้ปลูกเอง เพียงแต่นำกล้วยมาบ่มไว้ในห้องบ่ม แล้วเปิดเพลงโมสาร์ตในระหว่างช่วงเวลาการบ่ม และกล้วยไม้ไม่ได้ให้ผลผลิตออกมาเป็นกล้วยหอม

("Mozart Bananas" meet an odd fate. "String Quartet 17" and "Piano Concerto 5 in D major," among other works, play continuously for one week in their ripening chamber, which has speakers installed specifically for this purpose.)

4. การ ใช้ดนตรีโมสาร์ทกระตุ้นการเจริญเติบโตของผลไม้ ได้เกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีกว่าปีที่แล้ว ภายหลังประธานของบริษัทอิสาบุ ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับปรากฎการณ์ดังกล่าว ตัวเลข 20 ปี นี่ถูกต้องนะคะ แต่เอ่อ... มันไม่ใช่ท่านประธานของบริษัท  Toyoka Chuo Seika แต่เป็นประธานของ โรงงานทำสาเก Ohara Shuzo

(Another company that uses this form of enhancement is the Ohara Shuzo, a sake brewery in Fukushima Prefecture. The senior managing director, Fumiko Ohara, said that they started over 20 years ago when the president, Kosuke Ohara, came across a book about brewing with music. They experimented with jazz, Mozart, Bach, and Beethoven, among others.)

*ตัวอักษรสีส้ม ข้อมูลที่ถูกต้อง

*ตัวอักษรสีน้ำเงิน ข้อความที่ก๊อบปี้มาจากเว็บไซต์ของมติชน

*ตัวเอนในวงเล็บ ข้อความที่ก๊อบปี้มาจากเว็บไซต์ของเจแปนไทม์ส

เสิร์ชด้วยคีย์เวิร์ด กล้วยหอม และ โมสาร์ท ก็พบว่า ข้อมูลผิดๆ เหล่านี้ ณ บัดนาวมันไปแปะอยู่หลายที่แล้ว

และคนก็คงเข้าใจผิดกันไปโขแล้ว

เข้าใจว่าโลกอินเทอร์เน็ตมันไว

แต่ก่อนจะโพสต์ข่าวลงไป

เช็กความถูกต้องกันสักนิดก็ดีนะคะคุณ